หลักเกณฑ์การ จดทะเบียนบริษัท
เงินได้สุทธิ / กำไรสุทธิ | อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล |
0 – 150,000 | ได้รับการยกเว้นภาษี | ได้รับการยกเว้นภาษี |
150,001 – 300,000 | 5% | ได้รับการยกเว้นภาษี |
300,001 – 500,000 | 10% | ได้รับการยกเว้นภาษี |
500,001 – 750,000 | 15% | 15% |
750,001 – 1,000,000 | 20% | 15% |
1,000,001 – 2,000,000 | 25% | 15% |
2,000,001 – 3,000,000 | 30% | 15% |
3,000,001 – 5,000,000 | 30% | 20% |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% | 20% |
1. จดทะเบียนบริษัท แบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)
คือ การจดทะเบียนบริษัทของกิจการที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว คิดเอง ทำเอง มีอิสระและสามารถตัดสินใจทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการได้เต็มที่ เป็นการจดทะเบียนเพื่อบอกให้ชาวบ้านรับรู้ว่า ฉันทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายการจดทะเบียนพาณิชย์จะเหมาะกับกิจการขนาดเล็กที่ขายสินค้าหรือบริการง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก ข้อดีคือผู้ประกอบการจะได้รับกำไรเต็ม ๆ และเสียภาษีโดยคำนวณอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่านั้น แต่ถ้ากิจการขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบทุกอย่างรวมถึงหนี้สินแบบไม่จำกัดเช่นกัน
2. จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล
อันนี้เป็นขั้นแอดวานซ์กว่าแบบแรก เหมาะสำหรับกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน การกระทำทุกอย่างจะเป็นไปในนามกิจการทั้งหมด ข้อดีคือ ภาษีเงินได้สูงสุดที่ต้องจ่ายจะอยู่ที่ 20% ซึ่งน้อยกว่าจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ ส่วนข้อเสียคือ การดำเนินกิจการอาจมีความล่าช้าเพราะมีผู้ตัดสินใจหลายคน
ทะเบียนนิติบุคคลมี 3 ประเภทแบ่งตามการรับผิดชอบหนี้สิน ที่ "จำกัด" หรือ "ไม่จำกัดจำนวน"ดังนี้
2.1 ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ
คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จะจดหรือไม่จดทะเบียนนิติบุคคลก็ได้ ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียวเท่านั้น คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัดจำนวน” ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งปันกำไรจากกิจการได้ แต่ถ้ากิจการขาดทุนหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน
2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบ "จำกัด" และ แบบ "ไม่จำกัด" ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด” จะไม่สามารถตัดสินใจในกิจการได้ และผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัด” จะมีสิทธิในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในกิจการได้ทั้งหมด ถ้าหากกิจการขาดทุนห้างหุ้นส่วนจำกัดจะไม่ต้องจ่ายภาษี
2.3 บริษัทจำกัด
คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการ 2 คนขึ้นไป ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียว คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ "จำกัด" ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งกิจการแบบนี้ต้องมีภาพลักษณ์ดี มีการวางแผนกิจการรัดกุม และมีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริษัท เพื่อทำให้กิจการเกิดความน่าเชื่อถือ
ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท
1. ตรวจและจองชื่อบริษัท
เข้าไปที่ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสมัครสมาชิกได้ฟรี
เข้าไปที่ จองชื่อ/ตรวจทะเบียนคำขอนิติบุคคล เพื่อจองชื่อบริษัท ซึ่งสามารถทำได้มากถึง 3 ชื่อ โดยชื่อนั้น ๆ จะต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว
2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท โดยจะต้องยื่นไม่เกิน 30 วันจากวันที่นายทะเบียนรับรองชื่อเรียบร้อย
ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัท
- ชื่อของบริษัท (ตามที่ได้จองชื่อไว้)
- ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ / สาขา
- วัตถุประสงค์ของบริษัท
- ทุนจดทะเบียน
- ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
- ข้อบังคับ (ถ้ามี)
- จํานวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว อยางน้อยร้อยละ 25% ของทุนจดทะเบียน
- ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
- รายชื่อหรือจํานวนกรรมการที่มีอํานาจลงชื่อแทนบริษัท (อํานาจกรรมการ)
- ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
- ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจํานวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
3. รอนายทะเบียนตรวจสอบเอกสาร
เมื่อส่งเอกสารตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ให้รอการตรวจสอบจากนายทะเบียน หากมีส่วนไหนจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมจะได้รับการแจ้งกลับ
4. เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนบริษัท
4.1 เอกสารที่ต้องเตรียมมา
4.2 แบบจองชื่อนิติบุคคล
4.3 สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
4.4 สําเนาหลักฐานการรับชําระคาหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
4.5 แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
หมายเหตุ : เอกสารทุกฉบับผู้ขอจดทะเบียนจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งคน ยกเว้นสำเนาบัตรประจําตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน เจ้าของบัตรจะต้องเป็นผู้เซ็นรับรองความถูกต้องด้วยตนเอง
5. ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท
ยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้านผู้ประกอบการทุกจังหวัดทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 87 แห่ง เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง ก็แสดงว่าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของบริษัทที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว